Tuesday, November 30, 2010

ฮวงจุ้ย : บ้านของคนเกิดปีต่าง ๆ

บ้านคนปีชวด (พ.ศ. 2527, 2515 และ 2503)
เพื่อความมั่ง มีศรีสุข บ้านของคนปีชวด ควรมีเครื่องดนตรีอย่างน้อย 1 ชิ้น อยู่ในบ้าน เช่น ขลุ่ย เมาท์ออร์แกน เปียโน กีตาร์ ฯลฯ แม้จะเล่นไม่เป็น เพียงมีไว้ประดับบ้านก็ถือว่าถูกโฉลก นำโชคดีมาสู่ในบ้าน แต่ถ้าเป็นเครื่องดนตรีที่สมาชิกในบ้าสามารถเล่นได้จริงๆ หรือมีการเล่นร่วมดนตรีด้วยกันภายในครอบครัว เสียงดนตรีที่ดังขึ้นดุจดั่งเสียงสวรรค์ที่เรียกทรัพย์นับล้านเข้าสู่บ้านคน ปีชวด

บ้านคนปีฉลู (พ.ศ. 2528, 2516 และ 2504)
เพื่อ ความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านของคนปีฉลู ไม่ควรมีอะไรที่เป็นทรงกลม ยกเว้นโต๊ะอาหารที่เป็นโต๊ะกลมได้ นอกนั้นแล้วสิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้านควรเป็นเหลี่ยมเป็นมุมทั้งหมด ตัวอย่างเช่น นาฬิการทรง 8 เหลี่ยม อ่างบัวทรง 5 เหลี่ยม กระถางต้นไม้ทรง 4 เหลี่ยม รวมไปถึงลวดลายของเหล็กดัด วอลล์เปเปอร์ ก็ควรเป็นรูปทรงเหลี่ยม หลีกเลี่ยงรูปวงกลมและรูปโค้งมนต่างๆ

บ้านคนปีขาล (พ.ศ. 2529, 2517 และ 2505)
เพื่อ ความเจริญรุ่งเรือง เฟอร์นิเจอร์ภายในบ้านของคนปีขาล ไม่ว่าจะเป็น โต๊ะ เก้าอี้ ตู้ เตียง ควรมีขนาดใหญ่กว่าปกติ หน้าบ้านควรมีต้นไม้ใหญ่ หรือ สัญลักษณ์ที่ใหญ่โตโดดเด่น อาทิ มีประตูหน้าบ้านบานใหญ่ มีโอ่งน้ำขนาดใหญ่ มีบ่อน้ำขนาดใหญ่ เป็นต้น ในห้องรับแขกควรมีรูปภาพพระอาทิตย์ขึ้นประดับไว้ จะช่วยเพิ่มพลังอำนาจ และบารมีให้มีมากขึ้นกว่าเดิม

บ้านคนปีเถาะ (พ.ศ. 2530, 2518 และ 2506 )
เพื่อ ความสุขและความสำเร็จ บ้านของคนปีเถาะ ควรเป็นบ้านที่มีความร่มรื่น ร่มเย็น มีสนามหญ้า ต้นไม้ ดอกไม้ อ่างบัว ตัวบ้านมีความโปร่งโล่งสบาย มีแสงแดดและแสงสว่างพอประมาณ ในห้องนอนหรือห้องรับแขก ควรมีตุ๊กตาเซรามิครูปกระต่าย รูปไก่ รูปไข่ รูปหมู รูปเด็กทารก ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของความมั่งคั่งร่ำรวย จะช่วยให้เงินทองไม่รั่วไหลไปไหน ได้ปรับเงินเดือน ได้เลื่อนตำแหน่ง ได้พบกับความสมหวังและสมปรารถนาทุกประการ

บ้านคนปีมะโรง (พ.ศ. 2531, 2519 และ 2507)
เพื่อ ความเป็นสิริมงคล บ้านของคนปีมะโรง ควรจะมีชื่อบ้าน โดยเป็นชื่อที่เป็นมงคลและถูกต้องตามหลักทักษาของเจ้าของบ้าน ซึ่งโดยปกติแล้วมักจะใช้ชื่อหรือนามสกุลของเจ้าของบ้านมาเป็นชื่อบ้าน ซึ่งถ้าชื่อหรือนามสกุลถูกโฉลกอยู่แล้ว ชื่อบ้านก็ย่อมจะดีตามไปด้วย ชื่อบ้านต้องมีความเหมาะสมสอดคล้องกับลักษณะของบ้านและ ผู้อยู่อาศัย ห้ามขัดแย้ง หรือตรงกันข้ามกับความเป็นจริง ตัวอย่างเช่น บ้านทาสีฟ้าทั้งหลังแต่ตั้งชื่อบ้านว่าเรือนสีชมพู หรือ บ้านอยู่ติดภูเขา แต่ตั้งชื่อบ้านว่า บ้านริมทะเล ลักษณะอย่างนี้ถือว่าไม่เหมาะสมจะทำให้อับโชค พบเจอแต่อุปสรรคขวากหนามในการดำเนินชีวิต

บ้านของคนปีมะเส็ง (พ.ศ. 2532, 2520 และ 2508)
เพื่อ ความเจริญรุ่งเรือง บ้านของคนปีมะเส็งต้องมีแสงสว่างอยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นกลางวันหรือกลางคืน ต้องให้ความรู้สึกว่าสว่างอยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะในเวลากลางคืน ควรจะมีไฟภายนอกบ้านอย่างน้อยสัก 1 ดวงที่เปิดให้ความสว่างอยู่ตลอดคืนโดยเฉพาะไฟดวงไหนหากเปิดไว้แล้วนอกจากจะ ให้ความสว่างแก่บ้านของเรา ยังให้ความสว่างและความปลอดภัยแก่บ้านหลังอื่นและผู้ที่เดินทางผ่านไปมา ถือว่าเป็นมงคลอย่างยิ่ง บ้านมืดๆ จะนำภัยอันตรายและโชคร้ายมาสู่คนปีมะเส็ง

บ้านคนปีมะเมีย (พ.ศ. 2533, 2521 และ 2509)
เพื่อ ความเจริญก้าวหน้า บ้านของคนปีมะเมีย ต้องมีความเคลื่อนไหว เช่น มีธงโบกสะบัด มีน้ำพุ มีกังหัน มีโมบาย มีสุนัขหรือแมววิ่งเล่นกัน มีต้นไม้ใหญ่ที่โอนเอนตามสายลมภายในบ้าน ก็ควรมีสัญลักษณ์ของความเคลื่อนไหวหรือความเร็ว เช่น รถยนต์โบราณ รถไฟ เรือใบ เรือสำเภา เครื่องบิน จรวด ฯลฯ เพื่อเพิ่มความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านที่สงบ นิ่งและเงียบเกินไป จะทำให้คนปีมะเมียอึดอับและอับโชค

บ้านคนปีมะแม (พ.ศ. 2534, 2522 และ 2510)
เพื่อ ความสุขและความสำเร็จ บ้านของคนปีมะแม ควรเป็นบ้านที่สะสมงานศิลปะ ไม่ว่าจะเป็น ภาพวาด ภาพถ่าย ภาพวิวทิวทัศน์ งานหล่อ งานปั้น งานแกะสลัก หนังสือ ซีดีเพลง ดีวีดีภาพยนตร์ ฯลฯ ล้วนถูกโฉลกและนำโชคดีมาสู่คนปีมะแม และถ้าผลงานศิลปะเหล่านั้น เป็นฝีมือของเจ้าของบ้านด้วยแล้ว จะยิ่งถูกโฉลกและโชคดีเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่า

บ้านของคนปีวอก ( พ.ศ. 2523, 2511 และ 2499)
เพื่อ ความเจริญรุ่งเรือง บ้านของคนปีวอก ควรเป็นบ้านที่มีการขยับขยาย เพิ่มเติม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงไปตามวันเวลาเพื่อให้สอดคล้องสมดุลกับผู้อยู่อาศัย หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ เป็นบ้านที่มีการเจริญเติบโตอยู่ตลอดเวลา ตัวอย่างเช่น มีต้นไม้ใหม่ๆ มาปลูกเพิ่มอยู่เสมอมีเฟอร์นิเจอร์ใหม่มาทดแทนของเดิมที่ชำรุดเสียหาย มีเก้าอี้ม้าหินชุดใหม่มาตั้งแต่เพิ่มในสวน มีการเปลี่ยนผ้าม่านใหม่ทุกๆ 2 ปี และทาสีบ้านใหม่ทุกๆ 3 ปี

บ้านของคนปีระกา (พ.ศ. 2524, 2512 และ 2500)
เพื่อ ความเป็นสิริมงคล บ้านของคนปีระกาต้องสวย สะอาด สดใส และดูใหม่อยู่เสมอ สิ่งของเครื่องใช้ภายในบ้าน ควรจัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย รั้วบ้านและอาคารภายนอกบ้านควรทาสีใหม่ทุกๆ 3 ปี ภายในบริเวณบ้าน ห้ามมีสิ่งของแตกหัก ชำรุด เสียหาย ใบไม้แห้ง ต้นไม้หรือกิ่งไม้ที่เหี่ยวเฉาโรยรา โดยเด็ดขาด รอยร้าวบนผนัง หากพบเจอต้องรีบแก้ไขในทันที หลอดไฟ กลอน กุญแจ ประตู หน้าต่าง ต้องพร้อมใช้งานอยู่เสมอ

บ้านของคนปีจอ (พ.ศ. 2525, 2513 และ 2501)
เพื่อ ความมั่งมีศรีสุข บ้านของคนปีจอ ควรจะมีสัตว์เลี้ยง โดยเฉพาะสุนัข ซึ่งถือว่าเป็นสัตว์เลี้ยงนำโชคของคนปีจอ เพราะความซื่อสัตย์และแสนรู้ของสุนัข จะช่วยให้คนปีจออารมณ์ดี ร่าเริงแจ่มใส สมองปลอดโปร่ง ไม่เครียด ดังนั้นไม่ว่าจะคิดหรือทำอะไรก็ล้วนแต่โชคดีมีความสำเร็จ สุนัขที่เลี้ยงไว้ไม่ควรเลี้ยงตัวเดียว ควรเลี้ยงตั้งแต่ 2 ตัวขึ้นไป แต่ก็อย่าให้มากเกิน ควรให้เหมาะสมกับบริเวณบ้านและกำลังในการดูแลเอาใจใส่

บ้านของคนปีกุน (พ.ศ. 2526, 2514 และ 2502)
เพื่อ ความมั่งคั่งร่ำรวย บ้านของคนปีกุน ต้องมีห้องครัวที่กว้างขวาง สะอาด สะดวก สบาย มีอุปกรณ์ในการทำครัวครบครัน เพราะการเข้าครัวทำอาหารของคนปีกุน ถือเป็นเรื่องมงคลนำมาซึ่งโชคลาภ ความสำเร็จ และความร่ำรวย และถ้ามีตุ๊กตาเซรามิครูปหมูสีขาวหรือสีชมพู สัญลักษณ์ของความอุดมสมบูรณ์ วางไว้ในห้องรับแขกหรือห้องรับประทานอาหารด้วย จะยิ่งถูกโฉลก โชคดี เฮง เฮง เฮง เพิ่มมากขึ้น

นิสัยแย่ๆ ของแต่ละราศี

ราศีเมษ (21 มี.ค. - 20 เม.ย.)
          แม้จะเป็นชาวราศีที่น่าตื่นเต้นชวนสนใจกว่าใคร แต่ก็ใจร้อนใจเร็ว ไม่อดทน อยู่สงบๆ ไม่เป็น สะเพร่า บุ่มบ่าม เจ้าโทโส เอาตัวเองเป็นศูนย์กลางโลก หัวดื้อ ตลบตะแลง ชอบบงการและเพียบพูนด้วยตัณหา ความทะยานอยาก

ราศีพฤษภ (21 เม.ย. - 21 พ.ค.)
          ข้อเด่น คือเป็นคนหน้าตาดีเอามากๆ แต่ก็ดื้อหัวชนฝาทีเดียวเชียว นิยมวัตถุ ขี้อิจฉา เจ้าคิดเจ้าแค้น ชอบทำเป็นเจ้าข้าวเจ้าของตามใจตัวเอง ดันทุรัง ชอบโต้แย้งเป็นที่สุด

ราศีมิถุน (22 พ.ค. - 21 มิ.ย.)
          ถึงจะเป็นคนที่สนุกสนานรื่นเริงเป็นสองเท่าเมื่อคบหา แต่ส่วนเสียประจำราศีนี้ ก็คือ เหลาะแหละ โลเล ขี้เบื่อ กวนประสาท อยู่ไม่สุข ช่างกังวลและเครียดง่าย ชอบสอดรู้สอดเห็น ชอบยักย้ายเปลี่ยนแปลง และมักพาลหาเรื่องทะเลาะวิวาท

ราศีกรกฎ (22 มิ.ย. - 23 ก.ค.)
          เป็นชาวราศีที่น่ารักมีน้ำใจกว่าใครอื่น ทว่า ข้อเสียคือชอบผัดวันประกันพรุ่ง ขี้ระแวง นึกถึงแต่ตัวเอง หงุดหงิดง่าย ทำอะไรไม่เรียบร้อย อยากได้โน่นนี่ ไม่ตรงไปตรงมา ขุ่นใจเป็นประจำ หวั่นไหวง่าย ถ้าเป็นหญิงก็มักน้ำตาหยดบ่อย เพราะอารมณ์กระฉูดอยู่ซำเหมอ

ราศีสิงห์ (24 ก.ค. - 23 ส.ค.)

          ชาวสิงห์เกิดมาเป็นนักปกครอง จึงมักหยิ่ง ยโส โอหัง เชื่อมั่นตัวเองจนล้นเกิน มีความทะเยอทะยานสูง ชอบคุยโว ชอบวางมาด ขี้อิจฉา เจ้าทิฏฐิ เจ้าเล่ห์ ชอบควบคุม อวดดี ชอบก้าวก่ายแทรกแซง และครบเครื่องเรื่องตัณหา ทั้ง โลภะ ราคะ โทสะ และโมหะ

ราศีกันย์ (24 ส.ค. - 23 ก.ย.)
          เป็นชาวราศีที่สุดเซ็กซี่ แต่ก็สามารถครองตำแหน่งจอมจู้จี้ จุกจิก ชอบติ ชอบบ่น เจ้าทุกข์ ช่างวิตกกังวล โลเล ชอบอวดรู้ ชอบโต้แย้ง และ... อาจสำส่อน

ราศีตุล (24 ก.ย. - 23 ต.ค.)

          ชาวราศีนี้สุดฟู่ฟ่าก็จริง หากชอบหนีปัญหา ไม่ยอมตัดสินใจไม่ว่าเรื่องอะไร ชอบนินทา เป็นนักยักย้ายเปลี่ยนแปลง ถูกชักจูงง่าย ถูกหลอกก็ง่าย ชอบเหมางาน เจ้าชู้ เอาแต่ใจตัวเอง ทนการวิจารณ์ติติงไม่ได้เลย

ราศีพิจิก (24 ต.ค. - 22 พ.ย.)

          มีลับลมคมนัย คิดมาก ขี้หงุดหงิด อารมณ์แปรปรวนง่ายและรุนแรง เดี๋ยวดีเดี๋ยวร้าย ดื้อรั้น ขี้โมโห ขี้อิจฉา ชอบเรียกร้องคนอื่น เจ้าคิดเจ้าแค้น แล้วก็เป็นอีกราศีที่บริบูรณ์ด้วยตัณหานานา

ราศีธนู (23 พ.ย. - 21 ธ.ค.)

          เป็นพวกมองโลกในแง่ดีอย่างหลับหูหลับตา อยู่นิ่งไม่ได้ ไม่มีไหวพริบ ชอบเป็นเผด็จการ ไม่ยอมใคร เชื่อมั่นตนเองจนล้นเกิน ชอบเรียกร้องคนอื่น ทื่อมะลื่อ ขวานผ่าซาก ชอบอยู่ตามลำพัง ไม่สนใจใคร และไม่รับผิดชอบ แต่น่าแปลกที่ใครๆ กลับมารุมตอมชาวราศีนี้กัน
ราศีมังกร (22 ธ.ค. - 20 ม.ค.)

         เอาใจยาก ช่างติ ขี้ระแวง ทะเยอทะยานสูง หัวรั้น เข้มงวด ช่างวิตกกังวลมักเก็บความขุ่นเคืองไว้ในใจ ชอบไต่เต้าแสวงหาตำแหน่งหรือสถานภาพสูงๆ ไม่เคยพึงพอใจอะไรเลย

ราศีกุมภ์ (21 ม.ค. - 19 ก.พ.)

          ชาวราศีนี้แม้ดูสมบูรณ์แบบไปหมด แต่เป็นพวกไร้อารมณ์ ไม่มีไหวพริบ ชอบมีความลับ เย็นชา ไม่อ่อนไหว ดันทุรัง ไม่ชอบสุงสิงกับใคร ต่อต้านสังคม

ราศีมีน (20 ก.พ. - 20 มี.ค.)

          นี่ก็เป็นอีกราศีที่ชอบหลบเลี่ยงปัญหา ชอบมีลับลมคมใน และทำตัวเป็นปริศนา ใจลอยเป็นที่หนึ่ง จะพูดจะทำอะไรก็คลุมๆ เครือๆ ไม่ชัดเจน ขี้เกียจหลุดโลก ลังเล อ่อนไหวเกินเหตุ ถูกหลอกหรือถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ถูกไม่ควรได้ง่าย
          เอ... แล้วคนใกล้ตัวเราเค้าเกิดราศีอะไรหว่า...ลองดูว่าใช่ม่ะ

Sunday, November 28, 2010

กรุ๊ปเลือด

ทฤษฎีเรื่องกรุ๊ปเลือด

กรุ๊ปเลือดเป็นตัวกำหนดสายพันธ์ของมนุษย์ เช่นหมาขนแบบนี้สูงเท่านี้ เป็นหมาโกลเดนที่ร่าเริง
งู พันนี้สายนี้จะมีพิษ กิ้งก่าแบบนี้ ชอบหลับ ตอนบ่าย ผมเชื่อว่าในมนุษย์ของเราจะมีเผ่าพันธ์แปลกแยกโดยการแบ่งเผ่านอกจากสีผิว แล้วยังมีการแบ่งแบบกรุ๊ปเลือดด้วยครับ
ก่อนหน้านี้มี forward เรื่องเกี่ยวกับนิสัยแต่ละกรุ๊ปเลือดของแต่ละคนมาแล้ว วันนนี้จะเป็นการแสดงทฎษฎีของผมแบบที่ได้เจอกับตัวเองมา


นิยามของคนแต่ละกรุ๊ปเลือด


O กวนตีน ชิล
B โผงผาง จริงใจ
A จุกจิก เนี๊ยบ
AB ประหลาด ลึกลับ

Group 'O'
เริ่ม จากรุ๊ปนี้ก่อนเลย เพราะทั้งบ้านเป็นโอ คนกรุ๊ปโอไม่ต้องตกใจว่าทำไม เราเป็นคนที่มีนิสัยชิล มันไม่ได้เกิดจากคุณเอง เกิดจากเผ่าพันธ์ ยีนของคุณครับ :)
กรุ๊ปโอมักจะชิลกับตนเองเสมอ มาสายมากถึงมากที่สุดเวลานัดกันกับคนอื่นอื่น โดนรบกวนได้ง่ายจากปัจจัยภายนอก เช่น อยากอาบน้ำร้อนก่อนในวันฝนตกไม่งั้นไม่ออกจากบ้าน
ขอ อ่านการ์ตูนก่อนอีกสิบหน้าจะจบแล้ว รอฝนมันซากว่านี้แล้วกันค่อยออกแม้จะไปอีกทีสายแล้ว ก็ไม่เป็นไร กรุ๊ปโอ เป็นพวกไม่มีไฟแล้วทำอะไรไม่ได้ จะนอนอยู่กับบ้านได้ทั้งวัน
แต่ ถ้าวันนึงมีความฝันที่ต้องทำ มีกิเลสที่ตัวเองต้องการ จะทำสุดชีวิตแบบถึงเช้าถึงเที่ยงคืนก็ทำได้ ไม่หลับไม่นอน ความรักของกรุ๊ปโอจะเป็นพวกรักนานๆ ไปเรื่อยๆไม่หวือหวา
พวก กรุ๊ปโอ จะเป็นคนไว้ใจคนยาก แต่ถ้ารู้จักกันไปแล้วก็จะติดเพื่อน ติดแฟนอย่างแยกไม่ออก เวลากรุ๊ปโอมาเจอกับกรุ๊ปโอกันเองจะจูนยาก เพราะจะดูๆกันก่อน
กรุ๊โอเป็นพวกจะคบใครจะค่อยๆ ดู พอเจอโอกันเองเลยดูกันนาน แต่พอคบไปเรื่อยๆจะสนิทกันมากที่สุดกว่ากรุ๊ปอื่น แต่ก็จะมีช่องว่างให้กันด้วย กรุ๊ปโอเป็นพวกตามน้ำ
เวลา จะเอาคนกรุ๊ปโอไปไหน เค้าก็ไปได้หมดล่ะ แต่ต้องมารับโทรไปตาม ให้ความสำคัญต้องอัญเชิญว่าง่ายๆเถอะมาแน่!ต้องให้คนไปง้อ กรุ๊ปโอไม่พุดอะไรออกจากใจ
ภายในทันทีจะไปคิดทีนึงแล้วค่อยมาบอก บางทีจะทำอะไรก็ชอบไปปรึกษาก่อนว่าแบบนี้ดีไหม? มีเรื่องกลุ้มใจก็จะรบกวนคนรอบข้างคอยช่วยปรับสารทุกข์สุขดิบ
แล้ว ก็กลับมาดีได้ด้วยแรงใจของคนรอบข้าง กรุ๊ปโอจะเป็นพวกปากหวานถ้าทำอะไรไม่เป็นก็จะทำตาปริบๆ ให้คนช่วยทำเสมอ นอกจากนี้โอยังเป็นพวกเจ้าสัวใจถึง
ถ้ากลางที่สาธารณะก็จะหน้าใหญ่ใจกว้าง หลังจากงานเลี้ยงค่อยมาคิด เออหมดตัวแล้ว ๕๕๕

Group 'B'

บี เนี่ยผมจะมีเพื่อนสนิทเป็น B เยอะมาก กรุ๊ป B เป็นกรุ๊ป Entertain อย่างหนักหน่วงและ เป็นสีสันของวงสนทนา ไอเดียที่ B คิดจะตรงพูดจากใจเสมอ
เรียกเสียงหัวเราะของคนในวงได้เพราะ คนอื่นจะคิด'กูก็คิดแบบนั้น แต่ไม่กล้าพูด' บี เป็นรักใครอัดเต็มบ้าเห่อ พอชอบใครจะเอาตัวเอง ไปเลียบๆเคียงๆ คนที่ตัวเองชอบแบบเนียนๆ
ส่วนมากกรุ๊ปบีจะไปชอบคนกรุ๊ปโอ ด้วยความนิ่งกว่าของคนกรุ๊ปโอ เพราะบีเจอบีจะระเบิด เวลามีเรื่องปั้บออกตัวล้อฟรีจะเป็นจะตายทีเดียว
เรา จะได้เห็นบีในเห็นการแปลกๆเช่นทะเลาะกับยาม โวยวายกับคนโทรสับผิด โมโหเพื่อนทั้งที่ยังไม่เคลียร์เรื่องเหตุต้นตอ แล้วพอหลังจากมีเรื่องจะมาคิดได้ว่า
'น่าจะใจเย็นกว่านี้ หน่อยนะ ,ไม่น่าพูดแบบนี้ไปเลย' แต่ก็ด้วยความตรงทำให้ไม่คิดอะไรมาก ถ้าเค้าจะชอบเรา(คนกรุปบี)แบบ ที่เป็นเราก็คงดีแล้วบีก็จะลืมเรื่องที่ตัวเองทำเอาไว้
กรุ๊ปบี บ้าเห่ออย่างที่บอก พอรักกันก็ปานจะกลืนพอไม่สนใจก็เอาไปทิ้งถังขยะได้ทีเดียว กรุ๊ปบีเป็นพวก ชัดเจน ไม่ชอบจะไม่ไปไหนด้วยเลย  อาจจะเห็นกรุ๊ปบีไปเที่ยวเป็นกลุ่มใหญ่ๆ
ตาม คนอื่นไปบ้าง แต่พอครั้นอยากจะนอนอยู่บ้านหรือ วันนี้รถติดหว่ะ ก็ไม่ไปซะเลย ไม่โทรบอกใครด้วย กรุ๊ปบีดูเป็นคนใจร้ายแต่จริงๆ เป็นคนจริงใจและค่อนข้างยอมคนที่ตนเองสนิทอย่างมาก
ถ้า พอในกลุ่มแล้ว บี จะได้รับอิทธิพลจากโอสูงทีเดียวด้วย เหตุผลกับความนิ่งสยบความเคลื่อนไหว ว่าง่ายๆบีแพ้ทางโอ บางทีอะไรที่โอทำบีจะปลาบปลื้มมาก แต่พอ เอไปทำบีจะมองว่ารำคาญหว่ะ
กรุ๊ป บีเป็นกรุ๊ปแห่งอารมณ์ ไม่มีความเท่าเทียมกันในกรุ๊ปนี้ใช้อารมณ์ตัดสินกันล้วนๆ บีไม่ต้องการคำปลอบใจหรือกำลังใจใดใด ขอนอนบ้างหลังจากอัดเต็มมาพักนึง
หรือ ได้ออกไปด่า ทำลายของของคนที่ตัวเองไม่ชอบก็กลับมาดี๊ด่าได้เหมือนเดิม อย่าลืมว่าเวลาไปเที่ยวไหนให้พกคนกรุ๊ปนี้เอาไว้ เพื่อเพิ่มสีสันให้กับกลุ่ม เพราะบีถือคติสนุกไว้ก่อน
อ้อ แต่บีเห็นตลกแบบนี้ จะเป็นคนมีเหตุผลกับเรื่องคอขาดบาดตายสูงมาก ตัดสินใจได้ดีทีเดียว ยิ่งเรื่องที่ตัวเองไม่ชอบขอมีส่วนด้วย อาจจะยุคนอื่น ให้เลิกคบกันไปเลย
บีเป็นคนที่ประจบประแจงได้ เนียน ถ้าโอจะทำจะกระดากตัวเอง ถ้าเอทำจะรู้สึกเสียศักดิ์ศรี แต่บีจะไม่มีทิฐิถ้าอยากทำก็จะทำ ไม่ได้ทำให้ทุกคนด้วยมีไรมั้ย เรื่องของฉั้นเชิ้บๆ


Group 'A'


คนกรุ๊ปนี้ ทางยุโรปบอกว่าเป็นกลุ่มคนที่หน้าตาดีที่สุด ผมเองคิดว่าไม่จริง 555+ กรุ๊ป เอ เป็นพวกมีความมั่นใจในตัวเองสูง เป็นคนที่เป็นนักคิดนักวางแผน
เรา จะเห็นคนเรียนดีจากเลือดกรุ๊ปนี้เยอะมาก เพราะความขยันและการเตรียมตัวที่ดีของเขา เอ ชอบอยู่ในกลุ่มคนและได้ออกความเห็นตลอด ชอบวิจารณ์คนอื่น
แต่รับคำวิจารณ์ที่คนอื่นวิจารณ์ตนเองไม่ได้เท่าไหร่ เอ เป็นคนที่สนิทยากถึงจะสนิทแต่ก็จะมีกำแพงกั้นไว้เสมอ  เอจะแบ่งเวลาให้กับทุกคนสม่ำเสมอ ไม่ว่าจะเป็น
ครอบ ครัว เพื่อน คนรัก คนทำงาน กรุ๊ปเอเวลานัดกันจะไปคนแรกเสมอ ตรงต่อเวลาและมีสัมมาคารวะแต่ในใจก็จะมีความคิดที่ตัดสินคนแต่ละคนเอาไว้ใน หัวแล้ว
เป็นกลุ่มคนที่มีเหตุผลสูงสุด เราแทบจะเถียงไม่ชนะกรุ๊ปนี้เลย แต่เวลากรุ๊ปเอทำอะไรออกมากลับเป็นอะไรที่ Emotion มากขัดกับคาแรคเตอร์ที่ตัวเองเก็บไว้
ผมคิดว่าเพราะความเก็บกดที่ต้อง อยู่ในกรอบตลอดเวลา กรุ๊ปเอเป็นพวก Work hard play hard เรียนถึงเกียรตินิยมแต่เล่นแรงแบบลืมวันคืน
กรุ๊ป เอ กับเพื่อน ยิ่งกลุ่มใหญ่ เอจะยิ่งเป็นลิ่วล้อ แต่พอกลุ่มเล็กลง เอจะเทพขึ้นมาเรื่อยๆ ถ้าเป็นคนรัก เอจะเอาตัวเองเป็นเหมือนตราชั่ง คือเสมอภาค ไม่ว่าแฟนจะรุ่นใหญ่กว่า
เอจะเอาตัว เองไปเทียบให้เท่ากัน แต่ถ้าแฟนรุ่นเล็กกว่าก็จะเอาตัวเองลงไปคลุกกับโลกของคนนั้นซะงั้น เอ ชอบคิดว่า อันนี้มันไม่ยุติธรรมเอาซะเลย และประสาทเสีย
กับ อะไรที่ผิดแผน นอยอยู่คนเดียวเสมอ เอ ไม่ถูกกับโออย่างรุนแรง ด้วยความเป็นคนในกรอบแล้วไปเจอคนนอกรีต จะรู้สึกหงุดหงิด อะไรว่ะ!!!นัดกันเที่ยงมาสามโมง
แต่บางครั้ง เอ ก็จะคิดเข้าข้างตัวเองเสมอเวลาตัวเองทำผิดบ้าง และ ยิ้มอยู่คนเดียวเวลาที่ตัวเองรู้สึกเหนือกว่า อะไรที่ เอ ทำหน่ะ ดีดลูกคิดรางแก้วไว้หมดแล้วหล่ะ


Group 'AB'


เอ บี เป็นอัจฉะริยะ เราจะเห็นเวลาที่ เอบีพูดน้อยกว่าคิด เอบีชอบหลบอยู๋ในมุมจ้องมองคนอื่นๆทำอะไรต่างๆ แล้วก็คิดไปเรื่อย ถ้าเป็นฉันจะทำยังไงตรงนี้ จะมีอะไรที่ดีกว่าไหม
เอ บี เป็นพวกชอบคิดนอกกรอบ เป็นเทพเจ้า แต่ในขณะเดียวกันอาจเป็นไอ้บ้าของใครบางคนได้ เพราะ เอบีจะทำอะไรนอกกรอบและแนวทดลองเสมอ ผมมีเพื่อนที่เป็นเอบีน้อยมาก
พอเอาสัดส่วนมากเทียบไม่น่าจะถึง 5เปอร์เซ็นต์ เอบีมีวิธีเอนเทอเทน ให้ตัวเองมีความสุขแปลกๆ ในมุมของตัวเอง เช่น การนั่งกดรีโมทแอร์ตอนไม่มีถ่านแล้วสนุก หรือมองมดเดิน
แล้ว ลองตั้งชื่อมด จำว่าตอนมันเดินกลับมาเราจะจำชื่อมันได้ไหม เอบีมักสร้างสิ่งแตกต่างในสังคมเสมอ ทำให้เกิดอารยะธรรม วัฒนธรรมใหม่ๆได้ เวลานั่งในกลุ่มใหญ่จะมีแค่สองสถานการณ์
ของคนในกรุ๊ปนี้คือ โดนสปอตไลท์ หรือหลบในมุมมืด  เราจะไม่เห็น เอบีเฮฮาแบบเนียนๆไปกับกลุ่มเพื่อนฝูงตลอด 3 ชม. ไอ้คนที่ทำแบบนั้นได้คือกรุ๊ปบี 5555+
เอ บีจะมีโลกส่วนตัวสูง เราเอาแนวคิดที่เรามี กฏเกณฑ์ที่เรามีไปตัดสิน เอบีไม่ได้ นิสัยของเอบีหลักๆคือลึกลับ ถ้าเอบีเค้าจะสนุกกับคนอื่นๆ อย่างเดียวคือการได้แกล้งคนอื่น หรือ
ดูคนอื่นทำอะไรที่ตนเองวางแผนเอาไว้ แล้วหัวเราะอยู่ในมุมเล้กๆของเค้า :)

เก้าคำกำกวมของผู้หญิง

เก้าคำกำกวมของผู้หญิง

(1) ดี,โอเค: คำนี้ผู้หญิงใช้ปิดการโต้เถียงตอนที่เธอมั่นใจว่าเป็นฝ่ายถูก และคุณต้องหุบปากซะ

(2) ห้านาทีนะ: ถ้า หล่อนกำลังแต่งตัว นี่จะหมายถึงชั่วโมงครึ่ง แต่ห้านาทีก็คือห้านาทีถ้าเธอเพิ่งยอมให้คุณดูบอลต่ออีกห้านาทีแล้วค่อยไป ช่วยเธอทำงานบ้าน

(3) ไม่มีไร: นี่คือความสงบก่อนพายุจะเข้า มันแปลว่า"มีอะไร"แน่ ๆ ขอให้เตรียมตัวได้เลย การโต้เถียงที่เริ่มด้วย "ไม่มีไร" มักจะไปจบลงที่ "ดี,โอเค"

(4) ก็เอาดิ,เอาเลย: นี่เป็นคำท้า ไม่ใช่คำอนุญาต อย่าทะลึ่งทำเป็นอันขาด!

(5) ทำเสียง ชิ,ฮึ,จึ๊ ฯลฯ ออกมาดัง ๆ: มัน มีความหมายแน่นอน แต่อวจนภาษามักทำผู้ชายเข้าใจผิด เสียงพวกนี้หมายความว่าเธอกำลังคิดว่าคุณแม่งซื่อบื้อเหลือทน และไม่เข้าใจว่าจะมาเสียเวลายืนเถียงกับคุณเรื่อง"ไม่มีไร"แบบนี้ทำไม (กลับไปดู "ไม่มีไร" ที่ข้อ 3)

(6) ไม่เป็นไร: นี่คือสถานะอันตรายสุด ๆ ที่ผู้หญิงจะมีต่อผู้ชายแล้ว "ไม่เป็นไร"แปลว่าเธอต้องคิดดูก่อนอย่างนานและอย่างหนักว่าคุณต้องชดใช้อะไร อย่างไร และเมื่อไหร่ ในความผิดที่คุณก่อไว้

(7) ขอบคุณ: ถ้าผู้หญิงขอบคุณ อย่ามีคำถาม อย่ามัวทำเฉย ตอบรับคำเขาไปดี ๆ (แต่ขอเพิ่มหน่อยว่า ถ้าผู้หญิงพูดว่า "ขอบคุณมาก" อันนี้ประชดเต็มดอก เธอไม่ได้ขอบคุณอะไรเลย อย่าได้ทะลึ่งตอบรับ ไม่งั้นคุณจะเจอกับ "เออ เอาเหอะ")

(8) เออ เอาเหอะ: เป็นวิธีที่เจ้าหล่อนจะพูดกับคุณว่า ไอ้เหี้ย!

(9) อย่าห่วงเลย,อือ เข้าใจละ: อีกหนึ่งสถานะอันตราย หมายความว่านี่คือบางอย่างที่เธอบอกให้คุณทำมาหลายครั้งละ แต่คราวนี้เธอจะทำเอง ซึ่งเดี๋ยวคุณก็จะถามว่า "เป็นไรอะ" แล้วคุณก็จะเจอกับข้อ 3.

 

* บอกให้ผู้ชายทุกคนที่คุณรู้จัก เขาจะได้เลี่ยงอันตรายจากการโต้เถียง ถ้าเขาจำความหมายเหล่านี้ได้.
* บอกให้ผู้หญิงทุกคนที่คุณรู้จัก เธอต้องฮาแน่ ๆ เพราะเธอรู้ว่ามันจริงทั้งนั้น!!!

Friday, November 26, 2010

ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์

แนวทางการศึกษาธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์เพื่อมนุษยสัมพันธ์
1. ศึกษาตนเอง
2. ต้องศึกษาผู้ที่เราต้องการศึกษา และต้องรู้จักธรรมชาติของมนุษย์
3. ยอมรับความจริงที่ว่า "มนุษย์แตกต่างกัน"
4. ตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นโดยยึดหลักที่ว่า "มนุษย์แตกต่างกัน" ซึ่งอยู่บนฐานรากของความถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนจึงมีความสามารถในการรับรู้ ตีความ และตอบสนองแตกต่างกัน
แนวทางการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อมนุษย์สัมพันธ์
ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล (2540: 44-46) กล่าวถึง "การตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้หลักว่า เมื่อเราต้องการสิ่งใด ผู้อื่นก็ต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน ส่วนความต้องการด้านจิตใจให้ยึดหลักที่ว่า จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1. พยายามชอบและให้ความสนใจกับบุคคลทั่วไป
2. มองโลกแง่ดีและมีอารมณ์ขัน
3. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
4. แสดงความเป็นกันเอง และให้ความช่วยเหลือกับบุคคลทั่วไป
5. รู้จักทักทายปราศัยกับบุคคลทั่วไป และเรียกชื่อคนให้ถูกต้อง
6. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับคนทั่วไปเป็นปกตินิสัย
7. มีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง
8. รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับนับถือผู้อื่น
9. มีความอดทน อดกลั้น มีความมั่นคงในอารมณ์และรู้จักกาละเทสะ
10. รู้จักเหตุผลและประมาณกาล
ดังกล่าวมาแล้วว่าเรื่องของมนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์และศิลป์ นับถือเป็นการนำความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งหาได้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวไม่และไม่สามารถกำหนดได้ว่า แต่ละคนจะต้องมีประพฤติกรรม หรือการกระทำแค่ไหน อย่างไร จึงจะเป็นที่ รักใคร่ ชอบพอของผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุชัดแน่นอนลงไปได้ว่า " คุณจะต้องทำอย่างไร จึงจะชนะใจผู้อื่น ทำได้แต่เพียง ให้แนวทางและหลักการกว้างๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง กล่าวคือ
แนวทางสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
1. ต้องรู้จักสังเกต ใส่ใจต่อผู้อื่นว่า เขามีความต้องการสิ่งใด สิ่งใดที่เขาชอบ เพื่อที่เราจะได้ตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการได้อย่างถูกต้อง และพึงพอใจและรู้จักสังเกตความเปลี่ยนแปลง
2. พยายามสร้างทัศนคติที่ดีในการคบหากับผู้อื่น เริ่มที่สร้างความรู้สึก "รัก" "ชอบ" ผู้อื่นก่อน เพราะการที่เรามีความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อใครแล้ว ความคิด และการปฏิบัติต่อกันก็มักจะมีแนวโน้มดีตามไปด้วย โดยยึดหลักที่ว่า "อกเขา….อกเรา" สิ่งใดที่เราชอบผู้อื่นก็มักจะชอบ และสิ่งใดที่เราไม่ชอบคนอื่นก็มักจะไม่ชอบ เช่นกัน ยกเว้น คนพวกที่เราเรียกว่า "ขวางโลก" คนพวกนี้จะพยายามทำอะไรผิดแผกและแตกต่างผู้อื่นเสมอและสุดท้ายก็นำความเดือด ร้อน ยุ่งยากมาสู่ชีวิตตนเอง
3. พยายามทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่า "เขาเป็นบุคคลสำคัญ" ซึ่งมีวิธีการมากมาย ได้แก่
  • การฝึกจำชื่อ และรายละเอียดผู้ที่เราติดต่อด้วยได้อย่างถูกต้อง โดยการจดบันทึก หรือสร้างภาพเชื่อมโยงกับสิ่ง/คน/เหตุการณ์ที่เราคุ้นเคย
  • มีความสม่ำเสมอ ให้ความเอาใจใส่ต่อบุคคลที่เราติดต่อด้วย พร้อมทั้งบุคคลใกล้ชิดของเขา
  • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
  • ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีความจริงใจเป็นมิตร
  • ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจและกระตือรือร้น
4. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
5. มีใจกว้าง มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับผู้อื่น
6. ไม่นึกถึงแต่ประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว คำนึงถึงผู้อื่นสังคมโดยรวม
7. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ สามารถควบคุมอารมณ์ ความคิดความรู้สึก และความต้องการของตนเองไดถูกต้องเหมาะสมกับวัน เวลา สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์
8. มีความอดทน อดกลั้น
9. ยึดหลักธรรมที่ว่า "สังคหวัตถุ 4" ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวใจบุคคล ประกอบด้วยทาน การให้ ปิยวาจา คือ วาจาอันเป็นที่รัก อัตถจริยา คือ ประพฤติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสมานัตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีความสม่ำเสมอ
ในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะ ต้องรู้จัก"มนุษย์" คนที่เราจะต้องรู้จักด้วยให้ดีเสียก่อน ว่ามนุษย์นั้นมีลักษณะธรรมชาติและความต้องการเป็นอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เราสามารถรู้ เข้าใจถึงตัวมนุษย์คนนั้นๆ อย่างแท้จริง และสามารถตอบสนองความต้องการของเขาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของเขาได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เขารู้สึกชอบพอและพึงพอใจเรา อันจะนำไปสู่การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

ความต้องการของมนุษย์ ตามหลักพุทธศาสนา



ความต้องการตามหลักพุทธศาสนา

ในทางพุทธศาสนา กล่าวถึง ความต้องการของมนุษย์ หรือความอยากซึ่งเรียกว่า กิเลส มีอยู่ 3 อย่าง คือ ( พระธรรมปิฎก ป.อ. ปยุตโต , 2538: 67 - 70)

1. กามตัณหา คือ ความอยากในกามคุณทั้ง 5 คือ ความอยากหรือปรารถนาในสิ่งน่ารักใคร่พอใจ ซึ่งอาจเป็น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส มิใช่หมายถึงความต้องการทางเพศเพียงอย่างเดียวอย่างเช่นที่คนส่วนใหญ่เข้าใจ กัน
2. ภวตัณหา คือ ความอยากมี อยากเป็น อยากได้
3. วิภวตัณหา คือ ความไม่อยากมี ไม่อยากเป็น ไม่อยากได้

กล่าวไว้นั้น เมื่อเทียบกับหลักธรรมของพุทธศาสนา
เปรียบได้กับอิฐารมณ์ 4 คือ (เสถียร เหลืองอร่าม, 2519 : 21)
1. ลาภ ซึ่งได้แก่ ทรัพย์ ศฤงคาร(สิ่งที่ทำให้เกิดความรัก, ความใคร่) เงินทอง
2. ยศ ได้แก่ ตำแหน่ง เหรียญตรา ปริญญา วิทยฐานะ
3. สรรเสริญ ได้แก่ ความเคารพ นับถือจากผู้อื่น
4. ความสุข ทั้งในร่างกายและจิตใจ

ความต้องการที่เหมือนกันของมนุษย์ (กฤษณา ศักด์ศรี , 2534 : 219 - 220)
มนุษย์มีความต้องการมากมายหลายอย่าง แต่ในแง่ของความสัมพันธ์ มนุษย์มีความต้องการพื้นฐานที่เหมือนกันทุกคนก็คือ

1. ความรู้สึก "เป็นคนสำคัญ" ฉะนั้นจงทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่าเขาเป็นคนสำคัญ ยกให้เขาเป็นคนสำคัญ เช่น การใส่ใจกับผู้อื่น จำชื่อเพื่อนได้ มีของมาฝาก ขอรับคำปรึกษาหรือความช่วยเหลือ

2. มนุษย์มีความต้องการอีกอย่างหนึ่ง คือ "ความยกย่อง หรือ ชื่นชม " ดังนั้นควรฝึกหัดยกย่องผู้อื่นเป็นประจำทุกครั้งที่เห็นใครกระทำสิ่งดีๆ หรือ มีความคิดดีๆ แต่ควรระวัง ทำด้วยความจริงใจ ไม่เสแสร้งแกล้งทำ

3. อยากให้คนอื่น "รัก" และ "ชอบ" ตน ยิ่งคนรักยิ่งชอบมากเท่าไร ยิ่งปลาบปลื้มใจมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้จึงควร ทำให้เขาเกิดความรู้สึกนี้ให้มากขึ้น

4. มนุษย์ทุกคนอยากสบายแต่ "ขี้เกียจ" และต้องการแนวร่วมคือ คน "ขี้เกียจ" เหมือนเขา จงบอกว่าท่านขี้เกียจมากกว่าเขาเสียอีก เขาจะอุ่นใจขึ้นและคบท่านได้อีกนาน แต่อย่าไปบอกว่าท่านขยันกว่าเขาก็แล้วกัน ทำให้เขามีความหวัง และรู้สึกว่ายังมีคนสู้เขาไม่ได้อีกมากมาย เขาจะอยู่ในโลกนี้อย่างเป็นสุข และรักท่านขึ้นอีกหลายเท่า

มนุษย์อยากได้สิ่งทั้งสี่นี้ มนุษย์ต่อสู้ ดิ้นรน ลงทุน ทำงานหนัก เล่นการพนัน เป็นโจร ปล้นฆ่า ก็เพื่อชีวิตจะได้รับสิ่งทั้งสี่นี้เท่านั้น แม้ว่ามนุษย์จะมีความต้องการอื่นอีกมากมาย แต่ความปรารถนาทั้งสี่ประการดังกล่าวเป็นสิ่งที่มนุษย์ต้องการมากในการ ติดต่อสัมพันธ์กัน

นอกจากนั้นแล้วมนุษย์ยังต้องการสิ่งอื่นๆ อีกมากมายได้แก่ ความสุข มนุษย์ทุกคนล้วนแล้วแต่ต้องการความสุข ไม่อยากพบกับความทุกข์ ถ้าไม่อยากพบกับความทุกข์ จะทำอย่างไรดีละ ? พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า "เว้นเหตุแห่งทุกข์ย่อมมีสุขในที่ทั้งปวง" คำถามต่อมา แล้วอะไรจะเป็นเหตุแห่งทุกข์ ? จะรู้ได้อย่างไร ? คำตอบคือต้องมีปัญญา" คิด ไตร่ตรองให้รอบคอบในทุกๆ เรื่อง มีสติที่ระลึกรู้อยู่ตลอดเวลาว่าจะทำสิ่งใด และที่เราจะทำนั้นก่อให้เกิดผลใดบ้าง เกิดความเดือดร้อนต่อตนเองและผู้อื่น เรียกว่า พิจารณาให้ถ่องแท้แน่ใจเสียก่อนจึงจะลงมือกระทำ หรือปฏิบัติ ซึ่งต้องอยู่บนพื้นฐานของ "ความถูกต้อง ความดีงาม ไม่ก่อให้เกิดความเดือดร้อนแก่อื่น" นั้นแหละจึงจะเป็นความสุขที่เป็นความสุขจริงๆ ไม่ใช่เป็นความสุขที่นำความทุกข์มาให้เราภายหลัง

เมื่อทราบแล้วว่า มนุษย์ส่วนใหญ่มีความต้องการสิ่งใดบ้าง ย่อมช่วยให้เราพอใจจะเห็นแนวทางในการตอบสนอง ความต้องการ ดังกล่าวของมนุษย์ที่เราติดต่อ โดยมุ่งหวังให้เกิดความรู้สึกนึกรักใคร่ พึงพอใจต่อกัน อันจะนำไปสู่มนุษยสัมพันธ์ที่ดีและยาวนาน







ความต้องการของมนุษย์ 3

ทฤษฎีความต้องการตามแนวความคิดของเมอร์เรย์ (Murray)
 
เมอร์เรย์มีความคิดเห็นว่า ความต้องการเป็นสิ่งที่บุคคลได้สร้างขึ้นก่อให้เกิดความรู้สึกซาบซึ้ง ความต้องการนี้บางครั้งเกิดขึ้นเนื่องจากแรงกระตุ้นภายในของบุคคล และบางครั้งอาจเกิดความต้องการเนื่องจากสภาพสังคมก็ได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า ความต้องการเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นเนื่องมาจากสภาพทางร่างกายและสภาพทางจิตใจ นั่นเอง ทฤษฎีความต้องการตามหลักการของเมอร์เรย์สามารถสรุปได้ดังนี้ (โยธิน ศันสนยุทธ , 2530 : 36)
 
1. ความต้องการที่จะเอาชนะด้วยการแสดงออกความก้าวร้าว (Need for Aggression) ความต้องการที่จะเอาชนะผู้อื่น เอาชนะต่อสิ่งขัดขวางทั้งปวงด้วยความรุนแรง มีการต่อสู้ การแก้แค้น การทำร้ายร่างกาย หรือฆ่าฟันกัน เช่น การพูดจากระทบกระแทกกับบุคคลที่ไม่ชอบกัน หรือมี ปัญหากัน เป็นต้น

2. ความต้องการที่จะเอกชนะฟันฝ่าอุปสรรคต่างๆ (Need for Counteraction) ความต้องการที่จะเอาชนะนี้เป็นความต้องการที่จะฟันฝ่าอุปสรรค ความล้มเหลวต่างๆ ด้วยการสร้างความ
พยายามขึ้นมา เช่น เมื่อได้รับคำดูถูกดูหมิ่น ผู้ได้รับจะเกิดความพากเพียรพยายามเพื่อเอาชนะคำ สบประมาทจนประสบความสำเร็จเป็นต้น

3. ความต้องการที่จะยอมแพ้ (Need for Abasement) ความต้องการชนิดนี้เป็นความต้องการที่จะยอมแพ้ ยอมรับผิด ยอมรับคำวิจารณ์ หรือยอมรับการถูกลงโทษ เช่น การเผาตัวตายเพื่อประท้วงระบบการปกครอง พันท้ายนรสิงห์ไม่ยอมรับอภัยโทษ ต้องการจะรับโทษตามกฎเกณฑ์ เป็นต้น

4. ความต้องการที่จะป้องกันตนเอง (Need for Defendant) เป็นความต้องการที่จะป้องกันตนเองจากคำวิพากย์วิจารณ์ การตำหนิติเตือน ซึ่งเป็นการป้องกันทางด้านจิตใจ พยายามหาเหตุผลมาอธิบายการกระทำของตน มีการป้องกันตนเองเพื่อให้พ้นผิดจากการกระทำต่างๆ เช่น ให้เหตุผลว่าสอบตกเพราะครูสอนไม่ดี ครู อาจารย์ที่ไม่มีวิญญาณครู ขี้เกียจอบรมสั่งสอนศิษย์ หรือประเภท "รำไม่ดีโทษปีโทษกลอง"

5. ความต้องการเป็นอิสระ (Need for Autonomy) ความต้องการชนิดนี้เป็นความต้องการที่ปรารถนาจะเป็นอิสระจากสิ่งกดขี่ทั่ง ปวง ต้องการที่จะต่อสู้ดิ้นรนเพื่อเป็นตัวของตัวเอง

6. ความต้องการความสำเร็จ (Need for Achievement) คือ ความต้องการที่จะกระทำสิ่งต่างๆ ที่ยากลำบากให้ประสบความสำเร็จจากการศึกษาพบว่า เพศชายจะมีระดับความต้องการความสำเร็จมากกว่าเพศหญิง

7. ความต้องการสร้างมิตรภาพกับบุคคลอื่น (Need for Affiliation) เป็นความต้องการที่จะทำให้ผู้อื่นรักใคร่ ต้องการรู้จักหรือมีความสัมพันธ์กับบุคคลอื่น ต้องการเอาอกเอกใจ มีความซื่อสัตย์ต่อเพื่อนฝูง พยายามสร้างความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับบุคคลอื่น

8. ความต้องการความสนุกสนาน (Need for Play) เป็นความต้องต้องการที่จะแสดงความสนุกสนาน ต้องการหัวเราะเพื่อการผ่อนคลายความตึงเครียดมีการสร้างหรือเล่าเรื่องตลกขบ ขัน เช่น มีการพักผ่อนหย่อนใจมีส่วนร่วมในเกมกีฬาเป็นต้น

9. ความต้องการแยกตนเองออกจากผู้อื่น (Need for Rejection) บุคคลมักจะมีความปรารถนาในการที่จะแยกตนเองออกจากผู้อื่น ไม่มีความรู้สึกยินดียินร้ายกับบุคคลอื่น ต้องการเมินเฉยจากผู้อื่น ไม่สนใจผู้อื่น

10. ความต้องการความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น (Need for Succorance) ความต้องการประเภทนี้จะเป็นความต้องการให้บุคคลอื่นมีความสนใจ เห็นอกเห็นใจ มีความสงสารในตนเอง ต้องการได้รับความช่วยเหลือ การดูแล ให้คำแนะนำดูแลจากบุคคลอื่นนั่นเอง

11. ความต้องการที่จะให้ความช่วยเหลือต่อบุคคลอื่น (Need for Nurture) เป็นความต้องการที่จะเข้าร่วมในการทำกิจกรรมในการทำกิจกรรมกับบุคคลอื่น โดยการให้ความช่วยเหลือให้บุคคลอื่นพ้นจากภัยอันตรายต่างๆ
 
12. ความต้องการที่จะสร้างความประทับใจให้กับผู้อื่น (Need for Exhibition) เป็นความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นได้เห็น ได้ยินเกี่ยวกับเรื่องราวของตนเอง ต้องการให้ผู้อื่นมีความสนใจ สนุกสนาน แปลกใจ หรือตกใจในเรื่องราวของตนเอง เช่น เล่าเรื่องตลกขบขัน ไห้บุคคลอื่นฟังเพื่อบุคคลอื่นจะเกิดความประทับใจในตนเอง เป็นต้น

13. ความต้องการมีอิทธิพลเหนือบุคคลอื่น (Need for Dominance) เป็นความต้องการที่จะให้บุคคลอื่นมีการกระทำตามคำสั่งหรือความคิด ความต้องการของตน ทำให้เกิดความรู้สึกว่าตนมีอิทธิพลเหนือกว่าบุคคลอื่น

14. ความต้องการที่จะยอมรับนับถือผู้อาวุโสกว่า (Need for Deference) เป็นความต้องการที่ยอมรับนับถือผู้ที่อาวุโสกว่าด้วยความยินดี รวมทั้งนิยมชมชื่นในบุคคลที่มีอำนาจเหนือกว่า พร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับบุคคลดังกล่าวด้วยความยินดี

15. ความต้องการหลีกเลี่ยงความรู้สึกล้มเหลว (Need for Avoidance of Inferiority) ความต้องการจะหลีกเลี่ยงให้พ้นจากความอับอายทั้งหลาย ต้องการหลีกเลี่ยงการดูถูก หรือการกระทำต่างๆ ที่ก่อให้เกิดความละอายใจ รู้สึกอับอายล้มเหลว พ่ายแพ้

16. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงจากอันตราย (Need for Avoidance Harm) ความต้องการนี้เป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงความเจ็บปวดทางด้านร่างกาย ต้องการได้รับความปลอดภัยจากอันตรายทั้งปวง

17. ความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงจากการถูกตำหนิหรือถูกลงโทษ (Need for Avoidance of Blame) เป็นความต้องการที่จะหลีกเลี่ยงการลงโทษด้วยการคล้อยตามกลุ่ม หรือยอมนับคำสั่งหรือปฏิบัติตามกฎข้อบังคับของกลุ่มกฎเกณฑ์เพราะกลัวถูกลง โทษ

18. ความต้องการความเป็นระเบียบเรียบร้อย (Need for Orderliness) เป็นความต้องการที่จะจัดสิ่งของต่างๆ ให้อยู่ในสภาพที่เป็นระเบียบเรียบร้อย มีความประณีต งดงาม

19. ความต้องการที่จะรักษาชื่อเสียง เป็นความต้องการที่จะรักษาชื่อเสียงของตนที่มีอยู่ไว้จนสุดความสามารถ เช่น การไม่ยอมขโมย แม้ว่าตนเองจะหิว หรือไม่ยอมทำความผิด ไม่คดโกงผู้ใดเพื่อชื่อเสียงวงศ์ตระกูล เป็นต้น

20. ความต้องการให้ตนเองมีความแตกต่างจากบุคคลอื่น (Need for Contrariness) เป็นความต้องการที่อยากจะเด่น นำสมัย ไม่เหมือนใคร



ความต้องการของมนุษย์ 2

ความต้องการตามแนวความคิดของมาสโลว์
มาสโลว์ (Dr. Abraham H. Maslow) นักจิตวิทยากลุ่มมนุษยนิยมได้อธิบายเรื่อง ความต้องการของมนุษย์ว่าเป็นลำดับทั้งหมด 5 ขั้น (Five general system of needs) โดยเขียนเป็นรูปพีระมิดแห่งความต้องการไว้ แสดงความต้องการขั้นมูลฐานของมนุษย์ (Basic needs) เป็นทฤษฎีการจูงใจ ซึ่งเป็นคนแรกที่ได้เขียนขึ้น เรียกว่า "Maslow's General theory of human mativation" (เสถียร เหลืองอร่าม , 2519 : 325) Maslow กำหนดหลักการว่าบุคคลพยายามสนองความต้องการของตนเพื่อความอยูรอดและความ สำเร็จของชีวิต
Needs หมายถึงความต้องการอันจำเป็น ซึ่งชีวิตจะขาดเสียมิได้ ผลจากการศึกษาทราบว่าทุกกริยาท่าทาง หรืออาการที่มนุษย์แสดงออกมาเป็นรูปของพฤติกรรมนี้ก็เพราะแรงผลักดันจากความ ต้องการเป็นกำลังสำคัญให้แสดงออกมา ความต้องการอาจเกิดขึ้นได้จากการเรียนรู้ที่ได้มาภายหลัง และจากสิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยไม่ต้องเรียนรู้เป็นความต้องการทางชีววิทยา (Biological Needs) ทั้งที่เป็นสิ่งที่แสดงออกมาให้เห็นได้และเป็นสิ่งที่ซ่อนตัวอยู่
ทฤษฎีแห่งการจูงใจของ Maslow กล่าวถึง ความต้องการ (Need) ของมนุษย์ โดยมีสมมุติฐาน กล่าวถึงความสำคัญเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ดังนี้ (กาญจนา เรืองรจิตปกรณ์, 2530 : 227)
1. ความต้องการจำเป็นทางร่างกาย (Physiological Needs) สามารถแยกออกเป็นประเภทหนึ่งต่างหาก เป็นเอกเทศ จากการจูงใจประเภทอื่นๆ ได้เพราะเป็นความต้องการพื้นฐานที่ทุกคนต้องการเหมือนกัน
2. ความต้องการจำเป็น (Need) ทางกายเป็นความต้องการหลักของทุกคน
3. ความต้องการ (Needs) อย่างอื่นๆ จะอันตรธานไป ตราบใดที่ความต้องการมนุษย์ทางกายยังไม่ได้รับการตอบสนองตามความพอใจ เพราะยังถูกครอบงำด้วยความจำเป็นทางสรีระอยู่
4. ความต้องการอย่างอื่นที่สูงขึ้นไปจะเริ่มปรากฎเมื่อความต้องการทางร่างกาย ได้รับการสนองตอบเพียงพอแล้ว ขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นก็จะเข้ามาแทนที่
5. ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองเพียงพอแล้ว จะไม่เป็นอุปสรรคต่อความต้องการระดับสูงกว่า ความต้องการที่ได้รับตอบสนองแล้ว จะไม่เป็นแรงจูงใจสำหรับพฤติกรรมนั้นอีกต่อไป และอินทรีย์นั้นจะถูกครอบงำด้วยความต้องการอื่นที่ยังไม่เพียงพอ ความต้องการที่ไม่ได้รับการ ตอบสนองเท่านั้นที่เป็นสิ่งจูงใจของพฤติกรรมมนุษย์
6. บุคคลส่วนใหญ่ในสังคมมนุษย์ ต้องการโลกที่มีแต่ความปลอดภัยมีระเบียบแบบแผน และสามารถพยากรณ์ล่วงหน้าได้
7. คนที่ทำลายความต้องการทางด้านความรัก และการเป็นส่วนหนึ่งของสังคม หมายถึงคนที่ไม่ต้องการความรักและไม่ชอบการเข้าสังคมเป็นการกระทำของบุคคล ที่ปรับตัวเองไม่ได้ และเป็นโรคประสาท
8. ทุกๆ คนในสังคมย่อมต้องการและปรารถนาที่จะมีความเป็นอยู่อย่างมั่นคง ได้รับการเคารพ นับถือ ยกย่อง สรรเสริญ ประเมินค่าตน และมีความต้องการความแข็งแรง ความสำเร็จ ฉลาดปราดเปรื่อง ต้องการมีเกียรติยศชื่อเสียง มีฐานะ มีเกียรติภูมิ มีความสำคัญ และเป็นที่ยอมรับของสังคม
9. มนุษย์ทุกคนมีความต้องการ และความต้องการนี้มีอยู่ตลอดเวลาเป็นกระบวนการที่ไม่มีที่สิ้นสุด เริ่มตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย ขณะที่ความต้องการใดได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการอย่างอื่นจะเกิดขึ้นมาแทนที่
10. ความต้องการของมนุษย์มีลักษณะเป็นลำดับขั้นตามลำดับความสำคัญ (A hierarchy of needs) จากต่ำไปหาสูง กล่าวคือ เมื่อความต้องการในระดับต่ำได้รับการตอบสนองแล้วความต้องการระดับสูงก็จะ เรียกร้องให้มีการตอบสนองทันที
ทฤษฎีความต้องการตามลำดับขั้นของมนุษย์ แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ระดับ ความคิดสำคัญของทฤษฎีนี้ก็คือ ความต้องการส่วนใหญ่ในระดับที่ต่ำกว่าต้องได้รับการตอบสนองก่อนที่ความต้อง การในระดับที่สูงขึ้นไปจะเกิดขึ้น อย่างไรก็ดี ทั้งนี้มิได้หมายความว่าความว่าต้องการมากกว่าหนึ่งระดับไม่อาจเกิดขึ้นใน เวลาเดียวกัน ความต้องการของมนุษย์เป็นจุดเริ่มต้นของการจูงใจ มนุษย์เป็นสัตว์สังคมที่มีความต้องการไม่สิ้นสุด ตั้งแต่เกิดจนตายมนุษย์ทุกคนมีความต้องการตลอดเวลา และจะต้องการมากขึ้นเรื่อยไป ความต้องการของมนุษย์จัดเป็นขั้นตอนตามความสำคัญจากต่ำไปสูง ซึ่งเรียกว่า ความต้องการมูลฐาน 5 ขั้น มาสโลว์จัดลำดับขั้นความต้องการของมนุษย์ไว้อย่างมีระเบียบเรียกว่า Hierarchy of human needs เรียงลำดับขั้นจากต่ำไปสูง ถ้าความต้องการในขั้นแรกๆ ยังไม่ได้รับการตอบสนอง ก็ยังไม่มีความต้องการในขั้นสูงถัดไป ดังนี้
1. ความต้องการพื้นฐานทางสรีระ (Basic physiological needs or Biological Needs , Physical Needs) คือความต้องการบำบัดความหิวกระหาย ต้องการพักผ่อน ต้องการเรื่องกามารมณ์ ต้องการบำบัดความเจ็บปวดและ ความไม่สมดุลทางร่างกายต่างๆ
2. ความต้องการความปลอดภัย (Safety Needs and security) คือ ต้องการความมั่นคง ต้องการการป้องกัน อันตราย ต้องการระเบียบ ต้องการทำนายอนาคต
3. ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Love and Belonging Needs or Social Needs) คือ ต้องการเพื่อน ต้องการผู้ร่วมงาน ต้องการครอบครัว ต้องการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม ต้องการใกล้ชิดกับเพศตรงข้าม
4. ความต้องการเกียรติยศชื่อเสียง (Esteem Needs, Self-Esteem Needs) คือ ต้องการความนับถือ ต้องการความมั่นคงซึ่งอยู่บนพื้นฐานของความเห็นของคนโดยทั่วไป ต้องการความพอใจ ชมเชย นิยม ต้องการความมั่นใจในตนเอง ต้องการคุณค่าในตนเอง ต้องการยอมรับตนเอง
5. ความต้องการความสมหวังในชีวิต (Self-Actualization Needs, Self-realization , Self-fulfillment Needs) คือต้องการไปให้ถึงความสามารถสูงสุดของตนเอง ต้องการที่จะพัฒนาศักยภาพของตน ต้องการทำสิ่งที่เหมาะสมที่สุด ต้องการความงอกงามและขยายความต้องการให้ถึงที่สุด ค้นพบความจริง สร้างสรรค์ความงาม ส่งเสริมความยุติธรรม สร้างระเบียบ

ความต้องการของมนุษย์ 1

ความต้องการของมนุษย์
พจนานุกรมในไทยฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2525 (2526 :323) กล่าวถึง "ความต้องการ" ว่าหมายถึง ความอยากได้ ใคร่ได้หรือประสงค์จะได้ และเมื่อเกิดความรู้สึกดังกล่าวจะทำให้ร่างกายเกิดการความขาดสมดุลเนื่องมา จากมีสิ่งเร้ามากระตุ้น มีแรงขับภายในเกิดขึ้น ทำให้ร่างกายไม่อาจอยู่นิ่งต้องพยายามดิ้นรน และแสวงหาเพื่อตอบสนองความต้องการนั้นๆ เมื่อร่างกายได้รับตอบสนองแล้ว ร่างกายมนุษย์ก็กลับสู่ภาวะสมดุลย์อีกครั้งหนึ่ง และก็จะเกิดความต้องการใหม่ๆ เกิดขึ้นมา ทดแทนวนเวียนอยู่ไม่มีที่สิ้นสุด
ดังที่ Samuelson (1917 อ้างใน กฤษณา ศักด์ศรี , 2534 : 159) กล่าวว่า มนุษย์นั้น เพียรพยายามทุกวิถีทางในอันที่จะให้บรรลุความต้องการทีละขั้น เมื่อความต้องการขั้นแรกได้รับการตอบสนองแล้ว ความต้องการขั้นนั้นก็จะลดความสำคัญลงจนหมดความสำคัญไป ไม่เป็นแรงกระตุ้นอีกต่อไป แต่จะเกิดความสนใจและความต้องการสิ่งใหม่อีกต่อไป แต่ความต้องการขั้นต้นๆ ที่ได้รับการตอบสนองไปเรียบร้อยแล้วนั้น อาจกลับมาเป็นความจำเป็นหรือความต้องการครั้งใหม่อีกได้ เมื่อการตอบสนองความต้องการครั้งแรกได้สูญเสียหรือขาดหายไป และความต้องการที่เคยมีความสำคัญจะลดความสำคัญลง เมื่อมีความต้องการใหม่ๆเข้ามาแทนที่ นอกจากนั้นแล้ว Gilmer กล่าวว่า "มนุษย์มีความต้องการหลายสิ่งหลายอย่าง เช่น อาหาร อากาศ น้ำ ที่อยู่อาศัยรวมทั้งสิ่งอื่นๆ ด้วย เช่น การยอมรับนับถือ สถานภาพ การเป็นเจ้าของ ฯลฯ แต่อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปความต้องการเหล่านี้ยากที่จะได้รับการตอบสนองจนอิ่มและพอใจทั้งๆ ที่ก็ได้รับอยู่แล้ว"
ทุกวันนี้คนเราพยายามทำงานก็เพื่อจะสนองความต้องการของตน ทำงานเพื่อเงินเพราะเงินเป็นสื่อกลางของการแลกเปลี่ยนสิ่งต่างๆ ตามต้องการ แต่ถ้ามองให้ลึกลงไปแล้วการทำงานไม่ใช่เพื่อเงินแต่อย่างเดียวเสมอไป เศรษฐีมีเงินมหาศาลก็ยังทำงานทั้งๆ ที่ทำงานแล้วได้เงินเป็น ค่าตอบแทนเพียงเล็กๆ น้อยๆ การทำงานเพื่อเงิน เป็นเพียงเหตุผลประการหนึ่งเท่านั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากที่คนต้องการได้รับจากการทำงาน ซึ่งบางครั้งเงินไม่สามารถซื้อความต้องการบางอย่างได้ เพราะความต้องการของมนุษย์ มีอยู่ 3 ประการ (เสถียร เหลืองอร่าม , 2525 : 10- 18 และนิพนธ์ คันธเสวี, 2528 : 71)
1. ความต้องการทางด้านร่างกาย หรือความต้องการทางสรีระ ( Physical or Physiological Needs) หรือ ความต้องการปฐมภูมิ (Primary Needs) หรือ ความต้องการทางด้าน ชีววิทยา (Biological Needs) หรือความต้องการปฐมภูมิ (Primary) เป็นความต้องการทางชีววิทยา หรือ ความต้องการทางกายภาพ เป็นความต้องการขั้นพื้นฐานอันดับแรกหรือขั้นต่ำสุดของมนุษย์ซึ่งจำเป็นใน การ ดำรงชีวิต เป็นความต้องการที่จำเป็นสำหรับชีวิต เป็นความต้องการเพื่อการดำรงชีวิตอยู่ของมนุษย์ เพื่อการมีชีวิตอยู่ เป็นความต้องการที่มีมาตั้งแต่กำเนิด ในฐานะที่เป็นอินทรีย์ทาง กายภาพ เป็นแรงขับ (Drive) ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นแรงขับดันทางกายภาพ เป็นความต้องการที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เป็นปรากฎการณ์ทางธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตเพื่อความอยู่รอด จึงเป็นความต้องการพื้นฐานที่จะขาดเสียมิได้ ความต้องการชนิดนี้หากไม่ได้รับการตอบสนองจะมีความรู้สึกตึงเครียดอยู่ตลอด เวลา และมีความกระวนกระวาย เช่น ความต้องการอากาศหายใจ อาหาร ความอบอุ่น น้ำ ยารักษาโรค อุณหภูมิที่เหมาะสม เครื่องนุ่งห่ม การเคลื่อนไหวทางร่างกาย การขับถ่าย ความต้องการเรื่องเพศ การพักผ่อนนอนหลับ ที่อยู่อาศัย ถ้าขาดความต้องการประเภทนี้เพียงประการใดประการหนึ่งชีวิตจะต้องมีอันเป็นไป เพราะความต้องการนี้เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับมนุษย์ทุกคนจะขาดเสียมิได้ การแสวงหาสิ่งต่างๆมาเพื่อตอบสนองความต้องการในทางกายของมนุษย์ นี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของสังคม วัฒนธรรม การฝึกอบรม สิ่งแวดล้อม ศาสนา เศรษฐกิจ ฯลฯ
2. ความต้องการทางด้านจิตใจ หรือ ความต้องการในระดับสูง หรือ ความต้องการทางด้านจิตวิทยา หรือความต้องการทุติยภูมิ หรือความต้องการที่เกิดใหม่ (Psychological Needs or Secondary Needs or Acquired Needs) เป็นความต้องการที่ส่วนใหญ่เกิดขึ้นภายหลัง หลังจากความต้องการทางร่างกายได้รับการตอบสนองแล้ว บางครั้งจึงเรียกความต้องการทางจิตใจว่า "ความต้องการที่เกิดขึ้นใหม่" (Acquired Needs) เพราะเป็นความต้องการที่เกิดจากความรู้ และ การเรียนรู้ประสบการณ์ การสนองตอบต่างๆ ก็เพื่อให้เกิดความพึงพอใจ เป็นแรงขับ (Drive) ชนิดหนึ่งที่ไม่หยุดอยู่กับที่ (Dynamic) ไม่มีรากฐานจากความต้องการทางร่างกาย แต่อาศัยกลไกทางสมอง ที่สั่งสมจากประสบการณ์ สภาพแวดล้อม วัฒนธรรม เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งแต่ละบุคคลอาจเหมือนกันหรือต่างกันได้ เนื่องจากแต่ละคนมีระดับความต้องการแตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ และประสบการณ์ ความต้องการทางจิตใจเป็นความต้องการที่สลับซับซ้อน และมีความแตกต่างกันมากระหว่างบุคคล
3. ความต้องการทางสังคม เป็นความต้องการทางจิตใจนั่นเอง แต่เน้นหนักในด้านความต้องการที่จะดำรงชีวิตให้เป็นที่ยอมรับนับถือของคน อื่น หรือมีความเป็นอยู่ดีกว่าบุคคลอื่น เช่น ต้องการความปลอดภัย ต้องการได้รับการยกย่องนับถือ ต้องการความยอมรับในสังคม ต้องการความก้าวหน้า เป็นต้น
ตามธรรมชาติแล้วมนุษย์มีความต้องการมากมายหลายอย่าง จนไม่มีขอบเขตจำกัด ซึ่งทั้งความต้องการที่เกิดจากความคิดคำนึง หรือความต้องการด้านจิตใจ หรือความต้องการทางกาย ซึ่งเป็นความต้องการที่ขาดมิได้ และในบรรดาความต้องการต่างๆ ของมนุษย์นั้นยากที่จะได้รับการสนองตอบจนเป็นที่พอใจ เพราะเป็นเรื่องของความแตกต่างระหว่างบุคคล

ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว์

อยากรู้ว่าความต้องการของมนุษย์ จริงๆแล้วคืออะไร ลองอ่านทฤษฏีนี้ดูครับ

ความต้องการของมนุษย์ตามแนวความคิดของมาสโลว (Maslow)
มาสโลว์ ได้แบ่งความต้องการของมนุษย์ออกเป็น 5 ขั้นเรียงตามลำดับ ดังนี้
 

ขั้นที่ 1 ความต้องการทางกาย (Physiological Needs) คือความต้องการปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต
ขั้นที่ 2 ความต้องการความ มั่นคงปลอดภัย (Safety and Security Needs) คือความต้องการที่จะมีชีวิต
ที่มั่นคง ปลอดภัย

ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและการเป็นที่ยอมรับของกลุ่ม (Love and Belonging Needs) มนุษย์เมื่อเข้า
ไปอยู่ในกลุ่มใดก็ต้องการให้ตนเป็นที่รักและยอมรับในกลุ่มที่ตนอยู่

ขั้นที่ 4 ความต้องการได้ รับการยกย่องจากผู้อื่น (Self -Esteem Needs) เป็นความต้องการในลำดับต่อมา ซึ่งความต้องการในชั้นนี้ถ้าได้รับจะก่อให้เกิดความภาคภูมิใจใจตนเอง
ขึ้นที่ 5 ความต้องการในการเข้าใจและรู้จักตนเอง (Self-Actualization Needs) เป็นความต้องการชั้นสูง
ของมนุษย์ ซึ่งน้อยคนที่จะประสบได้ถึงขั้นนี้


มาสโลว์ได้กล่าวเน้นว่า ความต้องการต่าง ๆ เหล่านี้ต้องเกิดเป็นลำดับขั้น และจะไม่มีการข้ามขั้น ถ้าขั้นที่ 1 ไม่ได้รับการตอบสนอง ความต้องการในลำดับขั้นที่ 2-5 ก็ไม่อาจเกิดขึ้นได้ การตอบสนองที่ได้รับในแต่ละขั้นไม่จำเป็นต้องได้รับทั้ง 100% แต่ต้องได้รับบ้างเพื่อจะได้เป็นบันไดนำไปสู่การพัฒนาความต้องการในระดับที่สูงขึ้นในลำดับขั้นต่อไป