Friday, November 26, 2010

ธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์

แนวทางการศึกษาธรรมชาติและความต้องการของมนุษย์เพื่อมนุษยสัมพันธ์
1. ศึกษาตนเอง
2. ต้องศึกษาผู้ที่เราต้องการศึกษา และต้องรู้จักธรรมชาติของมนุษย์
3. ยอมรับความจริงที่ว่า "มนุษย์แตกต่างกัน"
4. ตอบสนองความต้องการของมนุษย์นั้นโดยยึดหลักที่ว่า "มนุษย์แตกต่างกัน" ซึ่งอยู่บนฐานรากของความถูกต้องและเหมาะสม ดังนั้นมนุษย์แต่ละคนจึงมีความสามารถในการรับรู้ ตีความ และตอบสนองแตกต่างกัน
แนวทางการตอบสนองความต้องการของมนุษย์เพื่อมนุษย์สัมพันธ์
ริเรืองรอง รัตนวิไลสกุล (2540: 44-46) กล่าวถึง "การตอบสนองความต้องการของมนุษย์ โดยใช้หลักว่า เมื่อเราต้องการสิ่งใด ผู้อื่นก็ต้องการสิ่งนั้นเช่นกัน ส่วนความต้องการด้านจิตใจให้ยึดหลักที่ว่า จงเอาใจเขามาใส่ใจเรา โดยมีแนวทางในการปฏิบัติดังนี้
1. พยายามชอบและให้ความสนใจกับบุคคลทั่วไป
2. มองโลกแง่ดีและมีอารมณ์ขัน
3. รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา
4. แสดงความเป็นกันเอง และให้ความช่วยเหลือกับบุคคลทั่วไป
5. รู้จักทักทายปราศัยกับบุคคลทั่วไป และเรียกชื่อคนให้ถูกต้อง
6. ยิ้มแย้มแจ่มใสกับคนทั่วไปเป็นปกตินิสัย
7. มีความจริงใจ ไม่เสแสร้ง
8. รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับนับถือผู้อื่น
9. มีความอดทน อดกลั้น มีความมั่นคงในอารมณ์และรู้จักกาละเทสะ
10. รู้จักเหตุผลและประมาณกาล
ดังกล่าวมาแล้วว่าเรื่องของมนุษยสัมพันธ์เป็นศาสตร์และศิลป์ นับถือเป็นการนำความรู้ในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องมาประยุกต์ใช้กับตนเอง ในการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น ซึ่งหาได้เป็นกฎเกณฑ์ตายตัวไม่และไม่สามารถกำหนดได้ว่า แต่ละคนจะต้องมีประพฤติกรรม หรือการกระทำแค่ไหน อย่างไร จึงจะเป็นที่ รักใคร่ ชอบพอของผู้อื่น ดังนั้นจึงไม่สามารถระบุชัดแน่นอนลงไปได้ว่า " คุณจะต้องทำอย่างไร จึงจะชนะใจผู้อื่น ทำได้แต่เพียง ให้แนวทางและหลักการกว้างๆ สำหรับนำไปประยุกต์ใช้ด้วยตนเอง กล่าวคือ
แนวทางสร้างมนุษยสัมพันธ์กับผู้อื่น
1. ต้องรู้จักสังเกต ใส่ใจต่อผู้อื่นว่า เขามีความต้องการสิ่งใด สิ่งใดที่เขาชอบ เพื่อที่เราจะได้ตอบสนองในสิ่งที่เราต้องการได้อย่างถูกต้อง และพึงพอใจและรู้จักสังเกตความเปลี่ยนแปลง
2. พยายามสร้างทัศนคติที่ดีในการคบหากับผู้อื่น เริ่มที่สร้างความรู้สึก "รัก" "ชอบ" ผู้อื่นก่อน เพราะการที่เรามีความคิด ความรู้สึกที่ดีต่อใครแล้ว ความคิด และการปฏิบัติต่อกันก็มักจะมีแนวโน้มดีตามไปด้วย โดยยึดหลักที่ว่า "อกเขา….อกเรา" สิ่งใดที่เราชอบผู้อื่นก็มักจะชอบ และสิ่งใดที่เราไม่ชอบคนอื่นก็มักจะไม่ชอบ เช่นกัน ยกเว้น คนพวกที่เราเรียกว่า "ขวางโลก" คนพวกนี้จะพยายามทำอะไรผิดแผกและแตกต่างผู้อื่นเสมอและสุดท้ายก็นำความเดือด ร้อน ยุ่งยากมาสู่ชีวิตตนเอง
3. พยายามทำให้ผู้อื่นรู้สึกว่า "เขาเป็นบุคคลสำคัญ" ซึ่งมีวิธีการมากมาย ได้แก่
  • การฝึกจำชื่อ และรายละเอียดผู้ที่เราติดต่อด้วยได้อย่างถูกต้อง โดยการจดบันทึก หรือสร้างภาพเชื่อมโยงกับสิ่ง/คน/เหตุการณ์ที่เราคุ้นเคย
  • มีความสม่ำเสมอ ให้ความเอาใจใส่ต่อบุคคลที่เราติดต่อด้วย พร้อมทั้งบุคคลใกล้ชิดของเขา
  • รู้ถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  • รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับเขาอย่างไม่มีเงื่อนไข
  • ยิ้มแย้ม แจ่มใส มีความจริงใจเป็นมิตร
  • ให้ความช่วยเหลืออย่างเต็มใจและกระตือรือร้น
4. ความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือผู้อื่น
5. มีใจกว้าง มีเหตุผล รับฟังความคิดเห็นและให้การยอมรับผู้อื่น
6. ไม่นึกถึงแต่ประโยชน์ของตนแต่ฝ่ายเดียว คำนึงถึงผู้อื่นสังคมโดยรวม
7. มีวุฒิภาวะทางอารมณ์ คือ สามารถควบคุมอารมณ์ ความคิดความรู้สึก และความต้องการของตนเองไดถูกต้องเหมาะสมกับวัน เวลา สถานที่ บุคคลและเหตุการณ์
8. มีความอดทน อดกลั้น
9. ยึดหลักธรรมที่ว่า "สังคหวัตถุ 4" ซึ่งเป็นสิ่งที่ช่วยยึดเหนี่ยวใจบุคคล ประกอบด้วยทาน การให้ ปิยวาจา คือ วาจาอันเป็นที่รัก อัตถจริยา คือ ประพฤติตนในสิ่งที่เป็นประโยชน์ และสมานัตตา คือ การวางตัวเสมอต้นเสมอปลาย มีความสม่ำเสมอ
ในการสร้างมนุษย์สัมพันธ์กับผู้อื่นมีความสำคัญและจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะ ต้องรู้จัก"มนุษย์" คนที่เราจะต้องรู้จักด้วยให้ดีเสียก่อน ว่ามนุษย์นั้นมีลักษณะธรรมชาติและความต้องการเป็นอย่างไร เพื่อที่จะทำให้เราสามารถรู้ เข้าใจถึงตัวมนุษย์คนนั้นๆ อย่างแท้จริง และสามารถตอบสนองความต้องการของเขาทั้งในด้านร่างกาย จิตใจ รวมทั้งความรู้สึกนึกคิดของเขาได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้เขารู้สึกชอบพอและพึงพอใจเรา อันจะนำไปสู่การมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน

No comments:

Post a Comment